top of page
  • JFIN Team

5 ข้อดีของ Blockchain กับธุรกรรมทางการเงิน

การเข้ามาของเทคโนโลยีบล็อกเชนช่วยพลิกวงการทางการเงินจากหน้ามือเป็นหลังมือ ปัจจุบันธุรกรรมทางการเงินบนธนาคารได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก อีกทั้งเทคโนโลยีบล็อกเชนสามารถนำไปใช้งานได้อย่างหลากหลายในอุตสาหกรรมการเงินและธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นการโอน ชำระเงิน หรือ การใช้งานในตลาดเงินและตลาดทุน




แต่เพราะเหตุผลอะไรบ้างที่ทำให้ธนาคารกลางแทบทุกประเทศต่างให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีนี้มาดูกัน


1. เพิ่มความโปร่งใสในการตรวจสอบและระบบติดตามการโอนเงินได้มากขึ้น


เทคโนโลยีบล็อกเชนจะมาช่วยบริการทางการเงิน เนื่องจากสามารถตรวจสอบและติดตามการทำธุรกรรมบนเครือข่ายได้ตลอดเวลา ทำให้ระบบมีความมั่นคงปลอดภัยมากยิ่งขึ้น


2. ความปลอดภัย


เทคโนโลยีบล็อกเชนขึ้นชื่อว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยค่อนข้างสูง การทำธุรกรรมของแต่ละรายการจะมีการตรวจสอบโดยเหล่า Validator Node ผ่านการเข้ารหัสที่ซับซ้อน ทำให้ธุรกรรมมีความน่าเชื่อถือและปลอดภัยสูง ดังนั้นไม่ต้องห่วงเลยว่าจะมีการปลอมแปลงหรือแก้ไขข้อมูลไปได้ง่าย ๆ


3. ลดค่าใช้จ่ายและลดระยะเวลาในการตรวจสอบธุรกรรม


การเข้ามาของเทคโนโลยีบล็อกเชนช่วยให้เราสามารถลดค่าใช้จ่ายและต้นทุนในการทำงานของธนาคารได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระยะเวลา ค่าใช้จ่าย หรือทรัพยากรบุคคลภายในองค์กร ซึ่งตรงนี้ถือว่าเป็นผลดีอย่างมากกับองค์กร ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและประหยัดเวลาในการตรวจสอบไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งไม่ใช่แค่กับองค์กรการเงินเท่านั้น ยังรวมถึงองค์กรอื่น ๆ อีกด้วย


4. ลดความเสี่ยงด้านการปลอมแปลงบัญชี


บล็อกเชนเป็นเทคโนโลยีที่มีความมปลอดภัยค่อนข้างสูงและการทำธุรกรรมแต่ละครั้งไม่ต้องผ่านคนกลาง จึงแทบเป็นไปได้ยากที่ข้อมูลที่ถูกบันทึกอยู่ในบล็อกเชนจะถูกปลอมแปลงหรือแก้ไขข้อมูล





5. ประสิทธิภาพและความเร็วในการทำธุรกรรม


ธนาคารหลายแห่งให้ความสนใจในการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนไปใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกรรม โดยต้องการให้การทำธุรกรรมสามารถดำเนินการในระบบที่ Decentralized มากขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถโอนหรือชำระเงินได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น


ตัวอย่างบริษัทหรือบุคคลชื่อดังที่ได้นำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ในเรื่องการเงิน


  • Barclays ธนาคารที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของสหราชอาณาจักร มีการใช้ Blockchain มาช่วยในกระบวนการโอนหรือโยกย้ายเงินทุน เพื่อให้กระบวนการนี้สามารถทำได้รวดเร็วขึ้น รวมถึงเพื่อช่วยให้สามารถตรวจสอบ “ความโปร่งใส” ของผู้ใช้บริการ

  • PTTEP หรือปตท.สผ. บริษัทยักษ์ใหญ่ในไทยเราได้ร่วมมือกับธนาคารไทยพาณิชย์ในการนำเทคโนโลยี Blockchain ของ Ripple มาใช้ในธุรกรรมโอนเงินระหว่างประเทศ


  • Jack Ma เจ้าของธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ยักษ์ใหญ่อย่าง Alibaba ได้นำ Blockchain มาใช้ในการบริหารเงินของมูลนิธิการกุศลเพื่อให้ข้อมูลมีความโปร่งใส

ปัจจุบันธนาคารต่าง ๆ เริ่มเข้ามาศึกษารวมไปถึงลงทุนในการสร้าง Blockchain มากขึ้นเรื่อย ๆ หากเทคโนโลยีนี้เข้ามามีส่วนร่วมในธุรกิจธนาคารได้อย่างสมบูรณ์ Blockchain ก็จะสามารถเพิ่มเสถียรภาพให้ระบบและลดต้นทุนได้อย่างมาก


เทคโนโลยีบล็อกเชนสามารถไปได้ทุกวงการ ไม่ใช่เพียงแค่อุตสาหกรรมทางการเงินเพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงอุตสาหกรรมอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการแพทย์ ดนตรี ศิลปะ เพราะสุดท้ายแล้วบล็อกเชนก็จะเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันเราเพิ่มมากขึ้นจากแต่ก่อนแน่นอน


bottom of page